................................................................................ เด๋วลองดูหน่อยอ่ะ...ข้อความส่วนใหญ่พิมพ์ไว้นานแระ.... ...ไม่ได้ไปโต้วาทะกับใครนะ...ต้องการทราบว่าท่านผู้รู้...จะเสนออะไรพอได้เป็นปัญญาไปปรับปรุงตนบ้างอ่ะ...^_^.... ................................................................................ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน? ตอบ อนตฺตา คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่น .............................................................................................. ขยายความ คำว่า "จิตไม่ยึดมั่นถือมั่น" ในเบื้องต้น ( รู้โดยอาศัยคิด ) ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ...เป็นการพิจารณาด้วยความจำได้หมายรู้ตามเงื่อนไขสภาวะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นลำดับๆ ในท่ามกลาง (วางคิด...จึงรู้....) ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น .... พิจารณาด้วยปัญญาด้วยความผ่องใสแห่งใจในภายในว่าไม่ควรยึดมั่นว่าเป็นเราว่าเป็นของเราตามสภาพตามที่เป็นจริง..เพื่อการรู้แจ้งตามความเป็นจริงด้วยปัญญาเครื่องตัด (เพื่อวางรู้ต่อไป) ในที่สุด ( รู้แจ่มแจ้งประจักษ์จิตแล้วก็วางรู้ ) ดับความยึดมั่นถือมั่นลง..ถอนความพอใจและไม่พอใจออกเสียได้ ....รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์...ตามเหตุตามปัจจัย ตามสภาวะ ...... หมดปัจจัยสืบต่อ ***ธรรมทั้งหลายปรากฏแต่เพียงสักแต่ว่าเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้นเสมอเหมือนกันหมด...ไม่มีความหมายอะไรมาปรุงแต่งจิตอีก เพราะจิตไม่ยึดมั่นถือมั่น...ธรรมทั้งปวง...ก็คงอยู่อย่างนั้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอย่างนั้นไม่มีความหมายอะไรไม่มีสมมติบัญญัติอะไรมาอธิบายความ...เพราะไม่มีความหมายอะไร (ถ้ายังมีความหมายก็แสดงว่ายังยึดอยู่) แต่สามารถแสดงออกด้วยคำพูดพอให้เข้าใจความกันได้แต่เพียงรูปบัญญัติ นามบัญญัติ พอเผยแผ่เป็นเครื่องรู้แห่งปัญญาให้นำไปปฏิบัติให้เห็นจริงตามเท่านั้น ....ส่วนรสธรรม วิมุตติธรรม ตนผู้เข้าถึงเท่านั้นที่จะรู้ได้จำเพาะตน และหากมีผู้เข้าถึงวิมุตติธรรมได้เช่นเดียวกับตนแล้ว...ก็หมดความที่จะต้องเจรจาต่อกัน..เพราะเห็นเหมือนกัน รสธรรมเดียว รสวิมุตติธรรมก็เดียวกัน ...(ก็คงได้แต่มองตากันปริบๆเท่านั้น) ....อุปมาเหมือนกับแสงอาทิตย์กระทบวัตถุ แสงอาทิตย์นั้นก็ไม่ได้ให้ความหมายอะไร กับวัตถุนั้นๆว่าเป็นนั่นเป็นนี่..ว่านั่นรูปนี่นาม...(แม้แต่ตัวดวงอาทิตย์เองก็ไม่ได้ให้ความหมาย) .....อุปมาเหมือนกระจกที่สะท้อนให้เห็นเหมือนว่าวัตถุนั่นอยู่ภายในกระจกแต่พอเคลื่อนวัตถุออกกระจกก็ไม่ติด ไม่ยึดในวัตถุนั้นๆ..ไม่ว่าวัตถุนั้นๆจะเป็นอะไรน่ารักน่าชังอย่างไรกระจกก็ยังรับกระทบ(ภาพที่ปรากฏในกระจก)ตามจริงนั้น...ไม่ได้เลือกว่าจะส่องแต่สิ่งที่ดีๆ..ที่ไม่ดีไม่ส่อง..ทุกวัตถุที่มากระทบกระจก...กระจกก็แสดงอาการเดียวกัน .....อุปมาแผ่นดินที่รองรับสิ่งสกปรกสิ่งงามไว้ด้วยอาการเดียวกัน.... ............................................................................................................. เพราะจิตไม่ยึดมั่นถือมั่น ฉันนั้น แม้วัตถุนั้นจะมีอยู่ในโลกแต่ก็เหมือนไม่มีสำหรับจิตเช่นนี้เพราะพ้นสภาวะที่จะให้ความหมายใดๆอีกต่อไป....แม้จะไม่ยึดมั่นหากว่ายังจำเป็นต้องมีกินใช้....ก็คงต้องมีกินใช้พอประทังไปตามประสาชาวโลกที่เขามีอยูกินตามปกติเป็นแต่เพียง "สักแต่ว่า"...หากหมดเรื่องที่จะต้องเกี่ยวข้องการอยู่กิน...ก็ต่างแยกย้ายกันไปดังเช่นกระจกที่ไม่ติดในวัตถุนั้นๆ เพราะจิตไม่ยึดมั่นถือมั่น..(มี..ไม่มี).และเมื่อพ้นสภาวะที่จะให้ความหมายก็กล่าวไม่ได้ว่าจิตนั้นมีสภาพอย่างไร....เพราะหมดสมมุติบัญญัติที่จะอธิบาย....จะรู้ได้ก็เฉพาะตนผู้ถึงเท่านั้นเป็นปัจจัตตัง........... หากจะนำมาอธิบายก็จะมีแต่คำถามว่า ทำไม? อย่างไร? ไม่รู้จบสิ้น ...เมื่อถึงแล้วรู้แล้วก็รู้เหมือนๆกันเข้าใจอย่างเดียวกันเช่นนี้แล้วจะอธิบายทำไม ....อย่างเช่น คำว่า 0(ศูนย์) , ไม่มี ..มี , นี้เป็นอย่างไรก็ดุจเดียวกัน ....ถ้ายึดจิต อยู่...ก็ยังต้องกล่าวว่าจิตมีอยู่ มีเกิดดับอยู่ เพราะว่ายังยึด(อุปทาน) ยังมีสมมุติบัญญัติอยู่ เช่นนี้จะ ยึดจิตนั้นๆเข้าแดนนิพพานหรือ ....ตามมุตโตทัย ถ้าจิต อุปมาดั่ง 0(ศูนย์) แล้วหมดความหมาย...หมดสมมุติบัญญัติ...ท่านจะกล่าวว่าจิตเป็นอะไร ...เกิดหรือดับ.... คงกล่าวได้อย่างเดียวตามสมมุติบัญญัติว่า "ไม่มี ..มี" นอกนั้นอธิบายไม่ได้ ธรรมทั้งปวง เมื่อรู้เท่าแล้วก็วางลงได้ (เมื่อวางลงแล้ว..ธรรมทั้งปวง...ก็คงอยู่อย่างนั้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอย่างนั้นต่อไปๆ..ธรรมดา) ธรรมทั้งปวง เมื่อไม่รู้เท่าก็วางไม่ได้ เพราะยังยึดอยู่ยังไม่แจ้งประจักษ์ถึงจิต...ก็อาศัยเป็นเครื่องรู้ของปัญญาต่อไปจะกว่าปัญญาจะตัดได้ ................................................................................. สรุป คำว่า "อนัตตา" เพราะจิตไม่ยึดมั่นถือมั่น...คือมีสภาพ"ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน" ไม่ใช่ไม่มีตัวตน และไม่ใช่ มีตัวตน .... ....แต่ว่างเปล่าจากความหมาย( เข้าไปเกี่ยวข้องเพียงกับธาตุเพียง สักแต่ว่า) จึงได้ความว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน .............................................ด้วยประการละฉะนี้..............
อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้แปลว่า ไม่มีตัวตน ถึงบัดนี้ก็หลายหน้าแระ ....และดูเหมือนจะยืดยาวออกไปได้อีกหลายๆหน้า...เพราะอะไรหนอ?
เต้าเจี้ยว [IMG] http://board.palungjit.com/showthread.php?t=155915 อ่านไปแล้วเมื่อคืนซึมไปเลย อย่างนี้การเข้านิพพาน ก็เท่ากับอยู่กับจิตอื่นๆ ด้วย เป็นหนึ่งเดียว จะลองอ่านอีกหลายๆ ครั้ง ......................................................................................... [IMG] อนุโมทนาด้วย.....เป็นธรรมสำคัญ...ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวตรงกัน...ท่านรู้อย่างเดียวกัน.... ................................................................................................. ..........ใครจะอธิบายรสแกง(วิมุตติรส)ได้เท่าผู้ชิม(คือผู้ปฏิบัติ)เอง....เมื่อชิมแล้ว(รู้แจ้งแล้ว)..รสแกง(วิมุตติรส)ย่อมปรากฏต่อผู้ชิม(คือผู้ปฏิบัติ)ดุจเดียวกัน.... ..........เมื่อต่างชิมต่างรู้รสแล้ว...หมดเรื่องที่จะต้องอธิบายต่อกัน...เพราะรู้อย่างเดียวกัน *******สำคัญอยู่ที่ว่าจะนำมาปฏิบัติให้รู้ประจักษ์แจ้งแก่ใจตนหรือไม่เท่านั้น******** พระสัทธรรมเมื่อสถิตย์ปุถุชนย่อมหมอง เมื่อทดลองนำธรรมมาปฏิบัติจึงเห็น หนทางมรรคอันเอกทำตามเย็น ทำให้เห็นพระสัทธรรมบริสุทธิเฉพาะตน
นิ่งและว่างได้มาก ความสะเทือนย่อมกล้ำกรายได้น้อย เห็นแต่ความเป็นไป ของกรรม ของบุคคล ของจักรวาล บุคคลมีหน้าที่รักษาแต่จิตของตน
[IMG] จะต้องเห็นจิตกี่ครั้งกัน ถึงจะกระจ่างแจ้งอย่างหลวงปู่ดุลย์ จะต้องเห็นจิตกี่ครั้งกัน ถึงจะรู้กลไกการทำงานได้อย่างท่านมหากัสสปะแห่งระยอง จะต้องเห็นจิตกี่ครั้งกัน ถึงจะแตกฉานอภิธรรมได้อย่างท่านสารีบุตร [IMG][IMG][IMG]
เหตุที่มีผู้เข้าช่วยเหลือสงเคราะห์ยามที่บุคคลนั้นตกยาก เพราะบุคคลนั้นมีความรู้บุญคุณ ..ทั้งยังช่วยบุคคลอื่นยามที่ตกยากเช่นกัน ความกตัญญูเป็นคุณธรรมเบื้องต้นของคนดี และความเจริญทั้งหลาย เหตุที่บุคคลสามารถให้อภัยต่อผู้อื่นได้ง่าย เพราะเขามีจิตแยบคายดังนี้ว่า ตัวเองก็มีความผิดพลาดอย่างนี้ มีความประมาทอย่างนี้ มาก่อน ;welcome2
ธรรมมะของพระพุทธองค์ มีตั้งแต่ง่ายไปถึงยาก ที่ยาก ก็ตีความกันไปตามปัญญาตน บุคคลที่สรรเสริญพุทธพจน์ อ้างบรมศาสดา ติดยึดแต่อาจารย์ตน แต่กลับไม่อาจเข้าใจธรรมแท้จากผู้ใด ทั้งอ้างพระคถาต่างๆ เพื่อเสริมความคิดตนทั้งที่บิดเบือนสัจจะ จึงหาได้เข้าถึงธรรมใดๆ ได้ เพราะเขาเป็นผู้วางอัตตาไม่ได้ แม้นจะพร่ำแต่เรื่องการไม่มีอัตตา ธรรมนั้นจึงเป็นประดุจงูพิษสำหรับผู้ไม่ทำลายตัวตน บุคคลที่ยึดติดบุคคล ย่อมไม่อาจทำลายบุคคล สุคติภพ และสุขอันสงบ จึงยากจะเกิดแก่เขา ;welcome2
ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นอาจารย์โดยตรง เพียงแต่ไปอยู่ด้วยกันในระหว่างพรรษา ต่างคนต่างก็แนะนำซึ่งกันและกัน บางครั้ง 2 - 3 วันถึงจะพูดกันก็ยังเคยมี แต่ท่านปรารภว่าอยากเรียนรู้เรื่องคอมและอินเตอร์เน็ตก็เลยช่วยเหลือท่าน ถือว่าเป็นสหธรรมิก กันเสียมากกว่า